อย่างที่บอกแหละว่า...ก็ไม่มีอะไรมากแค่อยากจะบ่นเรื่อง "คะ" และ "ค่ะ"
เห็นหลายๆ คนเขียนแล้วทีแรกก็เข้าใจว่าอาจพิมพ์ผิด แต่หลังๆ มานี่ เอ๊ะ!
เอ๊ะ! และสงสัยว่า "มันผันยากขนาดนั้นเลยเหรอ" ใช้ผิด อ่านผิดกันวุ่นไปหมด
ว่าแล้วมาดูกันดีกว่า
..................................................................................
ข้อมูลจากเว็บเด็กดีดอทคอม (http://www.dek-d.com/board/view/2309371/) อธิบายไว้ว่า
ในงานเขียนนั้น การใช้คำให้ถูกต้องคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
แต่นักเขียนบางส่วน (ซึ่งก็ค่อนข้างเยอะ) มักจำสับสนในการใช้คำว่า "คะ" และ "ค่ะ"
บทความนี้กล่าวถึงวิธีการใช้อย่างถูกต้อง
เริ่มที่การผันวรรณยุกต์
ถ้าเทียบรูปและเสียงวรรณยุกต์กับคำแล้ว จะได้ดังนี้
เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
รูป - ขะ ค่ะ คะ ค๋ะ
หมายเหตุ "ค๋ะ" ไม่ใช้ในภาษาไทย ส่วน "ขะ" สามารถประสมเป็นคำได้ เช่น "ขะมุกขะมอม"
เนื่องจาก "คะ" เป็นอักษรต่ำ คำตาย ดังนั้นรูปเอกเสียงโท รูปสามัญเสียงตรี
"คะ" ออกเสียงว่า "ค๊ะ" (ซึ่งก็เป็นเสียงของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ไม้ตรี)
"ค่ะ" ออกเสียงว่า "ข้ะ" (นึกถึงว่าเราออกเสียงคำว่า "ค่า" สั้นๆ)
ในกรณีหลัง เราคุ้นกับการออกเสียงว่า "ขะ" มากกว่า จากหลายๆปัจจัย
ที่จริงแล้วถ้าจำเสียงมันได้อย่างถูกต้องรับรองว่าไม่พลาดแน่
เพราะส่วนใหญ่นั่นพูดปากเปล่าถูกต้อง แต่เขียนคนละเรื่อง
เผื่อบางท่านยังแยกเสียงกับรูปไม่ออก ขอยกตัวอย่างการใช้ดังนี้ค่ะ
การใช้ "คะ"
1.ใช้กับวลี คำ หรือประโยคที่ต้องการเสียงสูง (อย่างน้อยเสียงมันก็สูงกว่า "ค่ะ")
1.1 ในประโยคคำถาม
เช่น "หรือคะ" "ได้ไหมคะ" "อะไรดีคะ" ฯลฯ
1.2 ในการเรียกอย่างต้องการความสุภาพ
เช่น "พี่คะ" "พ่อคะ" "แม่คะ" "อาจารย์คะ" ฯลฯ
2.ใช้ต่อหลังคะว่า "นะ" รวมเป็น "นะคะ" ( ไม่ใช่ "นะค่ะ")
3.ใช้กับคำว่า "สิ" รวมเป็น "สิคะ" หรือ "สินะคะ"
(สองข้อหลังนี่แยกออกมาเลยเพราะผิดกันเยอะมาก)
การใช้ "ค่ะ"
1.ใช้กับวลี คำ หรือประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ
1.1 ในประโยคบอกเล่า โดยเฉพาะการให้ข้อมูล
เช่น "สวัสดีค่ะ" "ฉันชื่อ...ค่ะ" "ที่นี่บ้านดิฉันค่ะ" "นี่เพื่อนฉันเองค่ะ" ฯลฯ
(โดยเฉพาะเวลาที่ให้ข้อมูลพรวดๆนั้นใช้ "ค่ะ" ไปเลย จนกว่าจะถึงประโยคคำถามนั่นแหละ)
1.2 ในการตอบรับ
เช่น "ค่ะ" "ได้ค่ะ" "เชิญค่ะ" "ทราบแล้วค่ะ" ฯลฯ
หมายเหตุ สามารถใช้ต่อหลังคำว่า "น่ะ" รวมเป็น "น่ะค่ะ" ได้
..................................................................................
อ่านดูแล้วก็เหมือนกับที่เรียนมานะ สมัยประถมคุณครูภาษาไทยเคยสอนไว้ จำได้ขึ้นใจเลย
อักษร สูง กลาง ต่ำ
อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น เป็นหมวดอักษรที่พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี
- อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ"
- อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก"
คำเป็น คำตาย
คำเป็น หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว
คำตาย หมายถึง คำที่พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท และผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี
1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ
สรุปก็คือ
"คะ" เป็นอักษรต่ำ คำตาย ดังนั้นรูปเอกเสียงโท รูปสามัญเสียงตรี
"คะ" ออกเสียงว่า "ค๊ะ" (ซึ่งก็เป็นเสียงของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ไม้ตรี)
"ค่ะ" ออกเสียงว่า "ข้ะ" (คล้ายๆ เสียงคำว่า "ค่า" แต่สั้นๆ)
บ่นมายาวๆ ยาวมากถึงมากที่สุดถ้ายังงงก็หาอ่านในเน็ตมีเยอะแยะจ้า หรือหยิบหนังสือวิชาภาษาไทยมาอ่านเล่นๆ ก็สนุกดีนะคะ
วันนี้บ่นแบบมีสาระบ้าง ไร้สาระบ้างมาพอประมาณ
ลาก่อนค่ะ มีความสุขกันมากๆ นะคะ
เห็นหลายๆ คนเขียนแล้วทีแรกก็เข้าใจว่าอาจพิมพ์ผิด แต่หลังๆ มานี่ เอ๊ะ!
เอ๊ะ! และสงสัยว่า "มันผันยากขนาดนั้นเลยเหรอ" ใช้ผิด อ่านผิดกันวุ่นไปหมด
ว่าแล้วมาดูกันดีกว่า
..................................................................................
ข้อมูลจากเว็บเด็กดีดอทคอม (http://www.dek-d.com/board/view/2309371/) อธิบายไว้ว่า
ในงานเขียนนั้น การใช้คำให้ถูกต้องคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
แต่นักเขียนบางส่วน (ซึ่งก็ค่อนข้างเยอะ) มักจำสับสนในการใช้คำว่า "คะ" และ "ค่ะ"
บทความนี้กล่าวถึงวิธีการใช้อย่างถูกต้อง
เริ่มที่การผันวรรณยุกต์
ถ้าเทียบรูปและเสียงวรรณยุกต์กับคำแล้ว จะได้ดังนี้
เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
รูป - ขะ ค่ะ คะ ค๋ะ
หมายเหตุ "ค๋ะ" ไม่ใช้ในภาษาไทย ส่วน "ขะ" สามารถประสมเป็นคำได้ เช่น "ขะมุกขะมอม"
เนื่องจาก "คะ" เป็นอักษรต่ำ คำตาย ดังนั้นรูปเอกเสียงโท รูปสามัญเสียงตรี
"คะ" ออกเสียงว่า "ค๊ะ" (ซึ่งก็เป็นเสียงของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ไม้ตรี)
"ค่ะ" ออกเสียงว่า "ข้ะ" (นึกถึงว่าเราออกเสียงคำว่า "ค่า" สั้นๆ)
ในกรณีหลัง เราคุ้นกับการออกเสียงว่า "ขะ" มากกว่า จากหลายๆปัจจัย
ที่จริงแล้วถ้าจำเสียงมันได้อย่างถูกต้องรับรองว่าไม่พลาดแน่
เพราะส่วนใหญ่นั่นพูดปากเปล่าถูกต้อง แต่เขียนคนละเรื่อง
เผื่อบางท่านยังแยกเสียงกับรูปไม่ออก ขอยกตัวอย่างการใช้ดังนี้ค่ะ
การใช้ "คะ"
1.ใช้กับวลี คำ หรือประโยคที่ต้องการเสียงสูง (อย่างน้อยเสียงมันก็สูงกว่า "ค่ะ")
1.1 ในประโยคคำถาม
เช่น "หรือคะ" "ได้ไหมคะ" "อะไรดีคะ" ฯลฯ
1.2 ในการเรียกอย่างต้องการความสุภาพ
เช่น "พี่คะ" "พ่อคะ" "แม่คะ" "อาจารย์คะ" ฯลฯ
2.ใช้ต่อหลังคะว่า "นะ" รวมเป็น "นะคะ" ( ไม่ใช่ "นะค่ะ")
3.ใช้กับคำว่า "สิ" รวมเป็น "สิคะ" หรือ "สินะคะ"
(สองข้อหลังนี่แยกออกมาเลยเพราะผิดกันเยอะมาก)
การใช้ "ค่ะ"
1.ใช้กับวลี คำ หรือประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ
1.1 ในประโยคบอกเล่า โดยเฉพาะการให้ข้อมูล
เช่น "สวัสดีค่ะ" "ฉันชื่อ...ค่ะ" "ที่นี่บ้านดิฉันค่ะ" "นี่เพื่อนฉันเองค่ะ" ฯลฯ
(โดยเฉพาะเวลาที่ให้ข้อมูลพรวดๆนั้นใช้ "ค่ะ" ไปเลย จนกว่าจะถึงประโยคคำถามนั่นแหละ)
1.2 ในการตอบรับ
เช่น "ค่ะ" "ได้ค่ะ" "เชิญค่ะ" "ทราบแล้วค่ะ" ฯลฯ
หมายเหตุ สามารถใช้ต่อหลังคำว่า "น่ะ" รวมเป็น "น่ะค่ะ" ได้
..................................................................................
อ่านดูแล้วก็เหมือนกับที่เรียนมานะ สมัยประถมคุณครูภาษาไทยเคยสอนไว้ จำได้ขึ้นใจเลย
อักษร สูง กลาง ต่ำ
อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี" เป็นหมวดอักษรที่พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท
อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ" เป็นหมวดอักษรที่พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ สามารถผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง คือ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๔ เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวาอักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น เป็นหมวดอักษรที่พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี
- อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ"
- อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล ท่องให้จำง่ายๆ ก็ "งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก"
คำเป็น คำตาย
คำเป็น หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว
คำตาย หมายถึง คำที่พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท และผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี
1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ
สรุปก็คือ
"คะ" เป็นอักษรต่ำ คำตาย ดังนั้นรูปเอกเสียงโท รูปสามัญเสียงตรี
"คะ" ออกเสียงว่า "ค๊ะ" (ซึ่งก็เป็นเสียงของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ไม้ตรี)
"ค่ะ" ออกเสียงว่า "ข้ะ" (คล้ายๆ เสียงคำว่า "ค่า" แต่สั้นๆ)
บ่นมายาวๆ ยาวมากถึงมากที่สุดถ้ายังงงก็หาอ่านในเน็ตมีเยอะแยะจ้า หรือหยิบหนังสือวิชาภาษาไทยมาอ่านเล่นๆ ก็สนุกดีนะคะ
วันนี้บ่นแบบมีสาระบ้าง ไร้สาระบ้างมาพอประมาณ
ลาก่อนค่ะ มีความสุขกันมากๆ นะคะ